วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จีพีเอส

1.GPS คือ


GPS คือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม  Globle Positioning System  โดยพิกัดบนพื้นโลกที่ได้ จะมาจากการคำนวณสัญญาณนาฬิกาที่ส่งจากดาวเทียม มาที่เครื่องรับสัญญาณGPS ส่วนดาวเทียมที่ใช้สำหรับระบบ GPS ที่สามารถใช้ระบุตำแหน่งได้นั้น จะถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้โครจรอบโลก เพื่อส่งข้อมูลที่จะนำไปใช้คำนวณพิกัดออกมาตลอดเวลา การสะท้อนกลับของคลื่นไมโครเวฟ ระหว่างดาวเทียมและพื้นผิวโลก แน่นอนเมื่อเรารู้ตำแหน่งบนพื้นโลก เราก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมบนอวกาศได้ ดังนั้นในทางกลับกันดาวเทียมก็สามารถระบุตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกได้เช่นกัน เมื่อมันโคจรผ่านตำแหน่งนั้น
ระบบGPSจะทำงานได้นั้น ต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ

1. ส่วนอวกาศ หรือดาวเทียม GPS : จะมีดาวเทียมที่ใช้ดังนี้

- NAVSTAR : จากของประเทศอเมริกา มีดาวเทียมทั้งหมด 28 ดวง จะใช้จริงแค่ 24 ดวง ไว้สำรอง 4 ดวง รัศมีวงโคจร12,600 ไมล์ โคจรอบโลกที่ความเร็ว 12ชั่วโมงต่อ 1 รอบ
- Galileo : ถูกพัฒนาโดย ESA หรือ European Satellite Agency ร่วมกับประเทศจีน อิสราเอล อินเดีย โมร็อกโก ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ และยูเครน รวมจำนวน 27 ดวง
- GLONASS : (GLObal NAvigation Satellite System) ที่พัฒนาโดยรัสเซีย
- Beidou : เป็นดาวเทียม GPS ที่กำลังพัฒนาโดยประเทศจีน
 
สถานีควบคุมดาวเทียมในสหรัฐ2. ส่วนภาคพื้นดิน :ทำหน้าที่คอยดูแลและควบคุมการทำงานของดาวเทียม  รวมถึงวงโคจรของดาวเทียม และให้ค่าสัญญาณนาฬิกาที่ถูกต้อง กับดาวเทียม GPS

3. ส่วนผู้ใช้งานหรือครื่องรับสัญญาณ GPS : ผู้ใช้งานสามารถรับสัญญาณ GPS ได้จากอุปกรณ์หลายๆอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือที่รับสัญญาณ GPS ได้, GPS Receiver (ต่อกับ computer, มือถือ) หรือ เครื่อง PNA (Personal Navigation Assistant) หรือเรียกง่ายๆว่าGPS NavigatorGPS ติดรถ หรือ Car GPS

จีพีเอสที่เราใช้อยู่หรือที่จะเลือกซื้อจะเลือกอย่างไรดี
              จีพีเอสเป็นเครื่องมือที่อาศัย 2 ส่วนประกอบกัน คือฮาร์ดแวร์ และ ซอฟแวร์ การเลือกซื้อก็ไม่ยากมาก คือถ้าจำเป็นใช้ฟังก์ชั่นแค่ไหนก็ซื้อมาแค่นั้นไม่ต้องซื้อเผื่อมากเพราะยิ่งฟังก์ชั่นมากก็ยิ่งราคาแพงด้วย บางคนเอารุ่นท็อปของยี่ห้อนั้น ๆ  แต่ใช้แค่ดูแผนที่หรือให้แค่นำทาง ส่วนทีวี หรือ mp3 และอื่น ๆ ที่ติดมาให้ไม่เคยได้ใช้แต่ผู้ขายบอกว่ามีทุกอย่างก็เอาซะหน่อย เปลืองเปล่า ๆ ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย   ถ้าจะมาดูในรายละเอียดแบบด้านลึกเรามาพิจารณาต่อไปคือในด้าน ฮาร์ดแวร์  เริ่มจาก CPU เป็นอันดับแรกๆที่ผู้ใช้ควรดูซึ่งหลักง่ายๆคือ ยิ่ง CPU เยอะก็ยิ่งดี เหมือนคอมพิวเตอร์ที่ CPU สูงกว่าก็สามารถประมวลผลและได้เร็วกว่า  ต่อจากนั้นดูที่ Chipset สำหรับปัจจุบัน GPS มีการใช้ Chipset รับสัญญาณจากค่าย SiRF และ MTK เป็นหลัก อันนี้อยู่ที่ความชอบของผู้ใช้เพราะว่าทั้ง 2 ค่ายมีความสามารถใกล้เคียงกัน ต่อมาให้ดูที่ Flash หรือเรียกกันว่า Memory ก็เหมือนกับกล้องถ่ายรูปหรือโทรศัพท์นั้นเองคือถ้าต้องการเก็บขอมูลมากๆ เช่น ซอฟแวร์แผนที่ ภาพ วิดีโอ หรือ เพลง ก็ต้องเลือกความจุที่มากหน่อยโดยเริ่มจากความจุ 128Mb จนถึง 4Gb กันเลยทีเดียว อนาคตคงจะมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเหมือนเครื่องโทรศัพท์ และเครื่องเล่น MP4  และที่สำคัญอีกตัวก็คือ Ram ยิ่งมีค่าตัวเลขมากก็ยิ่งดี สมัยนี้มีการใส่ Ram ในตัวเครื่องตั้งแต่ 64 Mb  ขึ้นไปแรมที่เยอะกว่าก็จะมีข้อได้เปรียบเช่นในการคำนวณเส้นทางที่ไกล Ram ยังมีอยู่ 2 ลักษณะเหมือนคอมพิวเตอร์คือ SD และ DDR ซึ่ง Ram ทึ่ควรเลือกใช้ควรเป็นแบบ DDR สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า SD ผู้ซื้อต้องระวังผู้ขายบางเจ้าที่ไม่รู้จริงหรืออ้างว่าใช้ Ram ที่มากแต่ความจริงเป็นRamแบบ SD Ram ซึ่งความเร็วในการทำงานจะเป็นเพียงครึ่งเดียวของRamแบบ DDR เช่น Ram128SD จะช้ากว่า Ram64DDR  ในส่วนของซอฟแวร์ ก็คือโปรแกรมที่แสดงการใช้งานหน้าจอและเป็นระบบของเครื่อง ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเราอีกเหมือนเดิม ชอบแบบไหนเอาแบบนั้น แต่ขอสำคัญคือเลือกที่สามารถอัพเกรดซอฟแวร์ให้ทันสมัยได้เสมอ ข้อควรระวังเครื่องที่เป็นของมาจากประเทศจีนเดี๋ยวนี้มีราคาถูก แต่บางทีไม่สามารถอัพเกรดซอฟแวร์ได้หรืออัพได้แต่หาโปรแกรมอัพไม่ได้  พอบางทีอัพแล้วใช้ไม่ได้ บอกได้คำเดียวเลยว่าเสียตังค์ฟรีทันที  แต่บางเครื่องถ้าใช้ได้ทุกฟังก์ชันก็ถือว่าได้ของดีราคาถูกครับ 

2. GPS ประกอบด้วย

ระบบที่ทำให้ GPS ทำงานได้ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนอวกาศ ส่วนควบคุม และส่วนผู้ใช้งาน
1. ส่วนอวกาศ (Space Segment)
ส่วนอวกาศจะประกอบไปด้วยดาวเทียมจำนวน 24 ดวงซึ่งบินโคจรรอบโลก ดาวเทียมนี้ผลิตโดยบริษัท Rockwell International และถูกปล่อยสูอวกาศจากแหลมฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ขนาดของดาวเทียมจะประมาณเท่ากับขนาดรถยนต์ และมีน้ำหนักประมาณ 19,000 ปอนด์ วงโคจรของดาวเทียมจะอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 12,660 ไมล์ ทำมุมกับพื้นโลก 55 องศา มีวงโคจรทั้งหมด 6 เส้นทาง ในแต่ละเส้นทางจะมีดาวเทียมโคจรอยู่ 4 ดวง โดยดาวเทียมหนึ่งดวงจะสามารถโคจรรอบโลกได้ 1 รอบใน 12 ชั่วโมง (ประมาณ 1.8 ไมล์ต่อวินาที) ในระหว่างการโคจรรอบโลกนั้น ดาวเทียมจะมีการส่งสัญญาณสู่พื้นโลกผ่านเสาส่งสัญญาณที่ติดตั้งจากดาวเทียมมายังโลก และมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการขับเคลื่อน
2. ส่วนควบคุม (Control Segment)
ส่วนควบคุมจะประกอบไปด้วยสถานีซี่งคอยตรวจสอบดูแลการทำงานของดาวเทียมโดยใช้เรดาร์ส่งสัญญาณไปยังดาวเทียม เพื่อให้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจร ในความสูง ความเร็ว และตำแหน่งที่ถูกต้อง และในทางกลับกัน สถานทีเหล่านี้ยังทำหน้าที่รับสัญญาณจากดาวเทียมและส่งข้อมูลไปยังเครื่องลูกข่าย GPS เพื่อบอกตำแหน่งและข้อมูลของเครื่องลูกข่ายนั้น ๆ อย่างถูกต้องด้วย
สถานีที่ทำการควบคุมดาวเทียมจะมีอยู่ 5 แห่ง คือ สถานีหลักที่ Coloradoม สถานีบนเกาะ Ascension, สถานี Diego Garcia (มหาสมุทรอินเดีย), Kwajalein และ Hawaii
3. ส่วนผู้ใช้งาน (User Segment)
ส่วนผู้ใช้งานประกอบด้วยเครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่อง GPS แบบมือถือที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปนั่นเอง โดยในเครื่อง GPS นั้นจะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่ในตัวเครื่องเพื่อให้เครื่องทราบว่าดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งใด ในเวลานั้น ๆ โดยเครื่อง GPS จะทำการคำนวณ ตรวจสอบ และถอดรหัสสัญญาณที่ได้จากดาวเทียม เพื่อให้ได้ข้อมูลมา ซึ่งข้อมูลที่ได้โดยปรกติก็มักจะถูกประมวลผลโดยโปรแกรมและส่งข้อมูลออกมาทางหน้าจอของเครื่อง GPS นั้น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบข้อมูล โดยการแสดงผลก็จะต่างกันขึ้นกับโปรแกรมในเครื่อง GPS แต่ละรุ่นและแต่ละยี่ห้อ
จะเห็นได้ว่าเบื้องหลังการใช้งานเครื่อง GPS นั้น มีส่วนประกอบที่สำคัญอื่น ๆ ที่ทำให้เราสามารถใช้งานเครื่อง GPS ได้ ซึ่งในส่วนผู้ใช้งานเองแค่มีเพียง GPS Reciever เครื่องเดียวก็เพียงพอแล้ว โดยในส่วนอื่น ๆ นั้นก็จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคอยดูแล เพื่อให้ระบบนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การทำงาน

หลักการทำงาน GPS       หลักการของเครื่อง GPS คือ การคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียมกับอุปกรณ์รับ GPS โดยจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง ประกอบกับได้ระยะทางจากดาวเทียม 3 ดวง ขึ้นไปแล้ว อุปกรณ์ GPS ก็จะสามารถคำนวน หาจุดตัดกันของผิวทรงกลม ของระยะทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงได้       ดังนั้น ในทางทฤษฏี สิ่งที่อุปกรณ์ GPS จำเป็นต้องทราบในการคำนวนหาตำแหน่งแต่ละครั้ง คือ1. ตำแหน่ง ดาวเทียม GPS ในอวกาศ อย่างน้อย 3 ดวง2. ระยะห่างจาก ดาวเทียม GPS แต่ละดวง
       โดยการจะได้มาซึ่ง ข้อมูลทั้ง 2แบบ ในทางปฏิบัติ คือ       1.การได้มา ซึ่ง ตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ       การได้มา ซึ่งตำแหน่งดาวเทียม GPS ในอวกาศ จะต้องได้มีข้อมูลประกอบ 2 ตัว คือa.   ข้อมูลวงโคจร       : จะทำให้อุปกรณ์ GPS ทราบว่า เส้นทางการเดินทางของดาวเทียม GPS แต่ละดวงจะอยู่ ณ ตำแหน่งใด เมื่ไรb. เวลาปัจจุบัน : ซึ่งเมื่ออุปกณ์ GPS ทราบ เวลาปัจจุบัน แล้ว ก็จะใช้เวลาปัจจุบัน ไปคำนวนหาตำแหน่ง ของดาวเทียม GPS จากข้อมูลวงโคจรได้       ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์รับ GPS ทราบ ข้อมูลวงโคจร ดาวเทียม GPS และเวลาปัจจุบัน อุปกรณ์รับ GPS ก็จะทราบตำแหน่ง ดาวเทียมในอวกาศได้ ซึ่งข้อมูลทั้งหมด จะได้มาจากสัญญาณดาวเทียมที่อุปกรณ์รับ GPS ตัวนั้นรับได้       2. การได้มา ซึ่ง ระยะห่างของอุปกรณ์รับ GPS กับ ดาวเทียม GPS แต่ละดวง       เนื่องจาก การเตินทางของคลื่นสัญญาณ GPS นั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่(vคงที่) คือ ความเร็วแสง (186,000ไมล์ต่อวินาที) ซึ่งเมื่อเป็นดังนั้น ถ้าอุปกรณ์รับ GPS รู้ระยะเวลา(t) ที่สัญญาณใช้ในการเดินทางจาก ดาวเทียม GPS มายังอุปกรณ์รับ GPS ก็จะสามารถคำนวนระยะทางระหว่าง ดาวเทียม GPS กับ อุปกรณ์รับ GPS ได้ จากสูตร       ความเร็ว X เวลา = ระยะทาง       ซึ่งเมื่อเราทราบระยะห่างของดาวเทียมกับอุปกรณ์ GPS มากเท่าไร เราก็จะหาจุดของผิวทรงกลม ทำให้อุปกรณ์ GPS สามารถทราบว่าตัวเองอยู่นะจุดใดบนพื้นโลกได้ เช่น       ดาวเทียม GPS 1 : ลอยอยู่ ณ จุดหนึ่งในอวกาศ ซึ่งเรารู้ตำแหน่ง จากข้อมูลวงโคจร GPS และ เวลาปัจจุบัน ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 1 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.10 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 1 คือ 18,600 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.10 วินาที = 18,600 ไมล์)       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนผิวทรงกลมที่มีรัศมี 18,600 ไมล์
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส
       ดาวเทียม GPS 2 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 2 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.08 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 2 คือ 13,200 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.08 วินาที = 13,200 ไมล์)       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นจุดใดๆ ก็ได้ บนเส้นรอบวงที่เป็นการตัดกันของ ทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2
รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 2 วง

       ดาวเทียม GPS 3 : ระยะเวลาในการส่งสัญญาณจากดาวเทียมดวง GPS 3 ถึงเครื่องรับ GPS คือ 0.06 วินาที ระยะทางระหว่างดาวเทียมกับ GPS 3 คือ 11,160 ไมล์ (186,000 ไมล์ต่อวินาที X 0.06 วินาที = 11,160 ไมล์)       ดังนั้น ตำแหน่งปัจจุบัน ของเครื่องรับ GPS ก็จะสามารถเป็นได้แค่ 2 จุด ที่เกิดจากจุดตัดของ ผิวทรงกลมรัศมี 18,600ไมล์ ของดาวเทียม GPS 1 กับ ผิวทรงกลมรัศมี 13,200ไมล์ ของดาวเทียม GPS 2 และ ผิวทรงกลมรัศมี 11,160 ไมล์ ของดาวเทียม GPS3รูปโลก โดน สัมผัสด้วยทรงกลม ใส 3 วง
       ดังนั้น หากอุปกรณ์ GPS ยิ่งสามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม GPS มากดวงเท่าไร ก็จะยิ่งสามารถ ระบุตำแหน่งได้แม่นยำยิ่งขึ้น       ในกรณี ที่อุปกรณ์รับ GPS สามารถรับสัญญาณ GPS ได้จากดาวเทียม GPS เพียง 3 ดวง อุปกรณ์รับ GPS จะมีความสามารถในการประมาณตำแหน่งบนพื้นโลกได้ และจะตัดจุดที่ไม่ใช่ตำแหน่งบนพื้นโลกทิ้งไป ทำให้เหลือเพียงตำแหน่งแหน่งเดียวที่เป็นไปได้
       จะเห็นได้ว่าจะเหลือตำแหน่งอยู่ 2 จุดที่บริเวณวงกลมทั้ง 3 ตัดกันคือตำแหน่งที่ อยู่ในอวกาศซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถไปอยู่ในอวกาศได้ตำแหน่งนี้จะถูกตัดทิ้งอัตโนมัติ โดยเครื่อง GPS อีกตำแหน่งคือตำแหน่งบนพื้นโลกซึ่งเป็นตำแหน่งที่เรายืนถือเครื่อง GPS อยู่นั้นเองซึ่งความถูกต้องแม่นยำของตำแหน่งก็ขึ้นกับจำนวนดาวเทียมที่สามารถรับ สัญญาณ ได้ในขณะนั้นหากมีมากกว่า 3 ดวงก็จะละเอียดมากขึ้น และก็ขึ้นกับเครื่อง GPS ด้วย หากเป็นเครื่องที่มีราคาแพง ( ซึ่งมักใช้เฉพาะงาน) ก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

4.ประโยชน์
การนำ GPS มาประยุกต์ใช้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
GPS เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจและใกล้ตัวเราอย่างมาก และด้วยความสามารถของ GPS ทำให้ สามารถนำข้อมูลตำแหน่ง มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- ระบบนำร่อง (Navigation System)
- ระบบติดตามยานพาหนะ (Automatic Vehicle Location)
- การสำรวจพื้นที่ (Survey)
- การทำแผนที่ (Mapping) เป็นต้น

การประยุกต์ใช้งานกับการดำรงชีวิต
มีการนำ GPS มาใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์ ที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายๆ ยี่ห้อ ได้ติดตั้งอุปกรณ์ GPS ไว้บนตัวรถ ทำงานร่วมกับแผนที่ประเทศไทย และแผนที่เมืองต่างๆ บนโลก เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์บนแผนที่นั้น ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเดินทาง การค้นหา สถานที่ และไปยังจุดหมายที่ต้องการได้แม่นยำและรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถพัฒนาไป ถึงการแก้ไขปัญหาจราจร ที่ส่วนหนึ่งเกิดจาดผู้ขับขี่ที่ไม่ชำนาญเส้นทาง จนทำให้ขับขี่ได้ช้าลง หรือหลงทางได้

ประยุกต์ใช้ในการเดินทางโดยจักรยาน
ซึ่งสามารถบันทึกเส้นทางที่เราต้องการเดินทางไป หรือนำไปยังเส้นทางที่คนอื่นได้บันทึกไว้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถบอกถึงทิศทางที่จะต้องไป ระยะทางที่เหลือ และระยะทางที่จะถึงปลาย ทางด้วย (ขึ้นกับคุณสมบัติของอุปกรณ์ GPS)

ประยุกต์ใช้ในการเดินป่าโดยใช้งานคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละรุ่น/ยี่ห้อ เช่น การเก็บระยะทาง โดยรวม, นาฬิกา, เข็มทิศ, เวลาพระอาทิตย์ขึ้น-ตก เป็นต้น หรือแม้แต่การติดตามตัวก็สามารถนำ ไปประยุกต์ใช้งานได้

จะเห็นแล้วว่า ประโยชน์ของ GPS มีมากมายหลากหลาย ขึ้นกับว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในทางที่ก่อ ให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา หรือในเชิงธุรกิจ อีกทั้งอุปกรณ์ GPS ยังสามารถหาซื้อได้อย่างง่ายดาย หลากหลายรุ่น หลากหลายราคา และหลากหลายฟังก์ชั่นการใช้งาน ตามความต้องการที่จะนำไป ประยุกต์ใช้ได้อีกด้วย

ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้งาน GPS ในรูปแบบต่างๆดังนี้
- การกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การทำแผนที่ งานสำรวจ โดยส่านใหญ่นิยมใช้อุปกรณืที่ สามารถพกพาไปได้ง่าย มีความทนทาน กันน้ำได้ สามารถใช้กับถ่านไฟฉายขนาดมารตฐานได้
- การนำทาง ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมีหลากหลายแบบและขนาด สามารถนำทางได้ทั้ง ภาพและเสียง ใช้ได้หลายภาษาบางแบบมีภาพเสมือนจริง ภาพสามมิติ และประสิทธิภาพอื่นๆเพิ่ม เติมเช่น multimedia Bluetooth handfree เป็นต้น
- การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายหมุดดาวเทียม GPS ของกรมที่ดิน (DOLVRS)
- การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย เช่น เสื้อกั๊กชูชีพที่มีเครื่องส่งสัญญาณจีพีเอส
- การวางผังสำหรับการจัดส่งสินค้า
- การนำไปใช้ประโยชน์ในขบวนการยุติธรรม เช่นการติดตามบุคคล การติดตามการค้ายาเสพติด
- การนำไปใช้ประโยชน์ทางทหาร ดูรายละเอียดเกี่ยวกับอนาคตGPS ทางทหารจากกระทรวง กลาโหมสหรัฐที่นี่ The Future of the Global Positioning System
- การกีฬา เช่นใช้ในการฝึกฝนเพื่อวัดความเร็ว ระยะทาง แคลลอรี่ที่เผาผลาญ หรือ ใช้ใน สนามกอล์ฟเอคำนวนระยะจากจุดที่อยู่ถึงหลุม
- การสันทนาการ เช่น กำนดจุดตกปลา หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตกปลา การวัดความเร็ว ระยะทาง บันทึกเส้นทาง เครื่องบิน/รถบังคับวิทยุ
- ระบบการควบคุมหรือติดตามยานพาหนะ การติดตามบุคคล เพื่อให้ทราบว่ายานพาหนะอยู่ที่ใด มีการเคลื่อนที่หรือไม่ มีการแจ้งเตือนให้กับผู้ติดตามเมื่อมีการเคลื่อนที่เร็วกว่าที่กำหนดหรือ เคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่หรือเข้าสู่พื้นที่ที่กำหนด นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ในการป้องกัน การโจรกรรมและติดตามทรัพย์สินคืน
- การนำข้อมูล GPS มาประกอบกับภาพถ่ายเพื่อการท่องเที่ยว การทำรายงานกิจกรรม เป็นต้น โดยจะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมติดตั้งอยู่กับกล้องบางรุ่น หรือการใช้ GPS Data Logger ร่วมกับ Software

5. ระบบติดตามรถยนต์

ระบบติดตามยานพาหนะ : 
Vehicle Tracking System


บริษัท ชายซอฟท์ จำกัด


ก่อตั้งเมื่อปี 2543 ดำเนินการมาแล้วกว่า 12 ปี

สำหรับติดตามการเดินทางของรถ ติดตามพฤติกรรมการขับรถ 
ควบคุมการเบิกจ่ายค่าน้ำมัน และค้นหาตำแหน่งรถ กรณีสูญหาย
แสดงตำแหน่งของยานพาหนะ พร้อมชื่อสถานที่ใกล้เคียง
มีฐานข้อมูลแผนที่ทั่วประเทศ ระดับ ถนน ซอย ใช้แผนที่    
คลิกที่นี่ เพื่อดูแผนที่ของ Longdo Map
สอบถามตำแหน่งปัจจุบันของรถ ดูประวัติการเดินทางย้อนหลังได้ 1 ปี
ใช้งานระบบทางเว็บไซต์ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม สามารถใช้งานได้ใน Tablet และ Smart Phone หรือ สอบถามตำแหน่งรถกับระบบ SMS
บริการ On Site Service กรุงเทพ ปริมณฑล หากเครื่องมีปัญหา เข้าไปตรวจสอบให้ ฟรี ไม่มีค่าแรง ค่าอะไหล่ ค่าเดินทาง (เฉพาะรุ่นมาตรฐาน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น